วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์ผู้สอน



จิตรกรรม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ภาพ โมนา ลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก
จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์
ภาพวาดได้แก่ ภาพที่ได้มาจากการเขียน การวาด ซึ่งอาจจะเป็นการวาดจากจิตรกรหรือผู้เขียนภาพสมัครเล่นปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาดลายเส้น และ การ์ตูน

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม

1.สุนทรียศาสตร์ ( Aesth etics ) คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )
สุนทรียศาสตร์
ความหมายของสุนทรีศาสตร์ เป็นคำตรงกับภาษาอังกฤษว่า “aesthetic” แปลว่าการศึกษาเรื่องความงาม หรือปรัชญาความงาม บางครั้งยังหมายถึงปรัชญาศิลปะซึ่งให้นิยามว่า “วิชาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความงาม” บางคนเข้าใจว่าสองคำนี้ความหมายเหมือนกัน แต่เป็นการเข้าใจไม่ถูกต้องเพราะความงามไม่ได้มีเฉพาะในศิลปะเท่านั้น (Randall and others, 1970 : 279) ในภาษาไทยสุนทรียศาสตร์มาจากคำว่า “สุนทรีย” แปลว่า เกี่ยวกับความนิยมความงาม กับคำว่า “ศาสตร์” แปลว่า วิชา ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงแปลว่า วิชาว่าด้วยความนิยมความงาม (พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 2525 : 84)
วิชาสุนทรียศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับความงามซึ่งอาจเป็นความงามในธรรมชาติหรือความงามทางศิลปะก็ได้ เพราะในผลงานาทางศิลปะ เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีความงามอยู่ด้วยนอกจากนี้สุนทรียศาสตร์ยังศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของการรับรู้ความงาม วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงาม และรสนิยม วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวนและแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ชัด รับรู้ได้และชื่นชมได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคล สร้างพฤติกรรม ความพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทนในการปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจเฉพาะตน สามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกด้วยได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง

2.ประโยชน์และขอบข่ายของสุนทรียศาสตร์
เป็นศาสตร์แห่งความงามมีจุดหมายอยู่ที่การเปิดเผยและการจัดระเบียบ หลักการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของความงาม สุนทรียศาสตร์มีวิธีการค้นหาความงาม อยู่ 2 อย่าง เรียกว่าวัตถุวิสัย และอัตตวิสัย

1. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นวัตถุวิสัย เพราะสุนทรียศาตร์มุ่งพิจารณาวัตถุต่าง ๆ เช่น ภาพพิมพ์ ดนตรี เป็นต้น ในฐานะที่เป็นสิ่งที่สวยงาม สุนทรียศาสตร์ค้นหาคุณลักษณะทั่วไปที่สวยงามและคุณลักษณะอย่างอื่นของวัตถุเหล่านั้นด้วย
2. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นอัตตวิสัย เพราะสุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความหมายของสิ่งที่เราเรียกว่าประสบการณ์ทางสุนทรียะของคนดู สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความแตกต่างและความสัมพันธ์กันระหว่างประสบการณ์สุนทรียะและประสบการณ์อย่างอื่น
จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์เป็นแต่เพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น มิใช่ภาคปฏิบัติและจุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์นี้ ก็เป็นแต่เพียงการสอนพวกเราเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ ของความงาม มิใช่ต้องการเพื่อที่จะสร้างพวกเราให้เป็นนักวาดเขียนหรือนักดนตรี เพราะว่ามีข้อแตกต่างกํนัระห่างความรู้เรื่องหลักการแห่งความงามและหลักการฝึกฝนภาคปฏบัติ ในการสร้างงานศิลปะ การสร้างงานศิลปะนั้นเรียกหาการฝึกฝนภาคปฏิบัติบางประการ และขึ้นอยู่กับสติปัญญาภายในของแต่ละบุคคล การศึกษาสุนทรียศาสตร์มิได้รับประกันว่าจะต้องให้การฝึกหัดและรูปแบบแก่พวกเรา ดังนั้นโดยจุดมุ่งหมายแล้วสุนทรียศาสตร์จึงเป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลมีรูปแบบบางอย่างและการฝึกภาคปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว การศึกษาสุนทรียศาสตร์ก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นได้พัฒนารูปแบบและการปฏิบัติจริงให้สำเร็จผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประสิทธิภาคแห่งศิลปะภาคปฏิบัติจึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการศึกษาสุนทรียศาสตร์แต่การศึกษาสุนทรียศาสตร์อาจมีผลโดยทางอ้อมต่อความพยายามของมนุษย์ในการสร้างงานศิลป์
สุนทรียศาสตร์มิได้เรียกร้องถึงขอบเขตอันสูงส่งในฐานะที่เป็นวิชาที่สืบค้นถึงเนื้อหาของมันเอง เพราะว่าวัตถุชนิดเดียวกันและเหมือนกัน อาจจะถูกศึกษาโดยประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ภาพเขียน นักเรขาคณิตอาจจะศึกษาจากแง่คิดในแง่ของเส้นของมุมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์อาจจะศึกษาจากแง่คิดในเรื่องของเคมีซึ่งใช้ในการเขียนภาพเขียน นักจิตวิทยาอาจจะศึกษาจากแง่คิดแห่งองค์ประกอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต่อการสร้างภาพเขียนแต่สุนทรียศาสตร์มีแง่คิดอันเด่นชัดเป็นของตนเอง สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาปรากฎการณ์ภายในต่าง ๆ ที่ภาพเขียนแต่ละชนิดจะพึงมีในใจของผู้ดู

3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลดังนี้
พยาบาลมีหน้าที่ดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วย พยาบาลจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิชานี้ เพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดและการตัดสินความงามอย่างมีเหตุผลและช่วยในการกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี เพื่อเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ