วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตรกรรมฝีพระหัตถ์


ถ้าจะกล่าวถึงศิลปกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จิตรกรรมเป็นศิลปะอีกประเภทหนึ่งที่พระองค์สนพระราชหฤทัยมากจนกระทั่งได้ทรงฝึกฝนเขียนภาพด้วยพระองค์เอง จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระองค์ในระยะแรก ๆ จะเป็นที่ทราบกันและมีโอกาสได้ชมกันในวงแคบเฉพาะผู้ที่สนใจในงานด้านนี้เท่านั้น บรรดาศิลปินอาวุโสและมีชื่อเสียงของไทยซึ่งเคยได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เพื่อร่วมปฏิสันถารและแข่งขันการวาดภาพ ถวายคำปรึกษาแด่พระองค์ท่านในช่วงระยะเวลาระหว่างที่พระองค์สนพระราชหฤทัยใคร่จะได้มีผู้สนใจงานด้านนี้ไว้เพื่อทรงวิสาสะด้วยจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อถวายคำปรึกษาในการเขียนภาพ ในระยะนั้นมีอาจารย์เหม เวชกร อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ อาจารย์จำรัส เกียรติก้อง ศิลปินที่กล่าวนามมานี้ ต่างก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็มี อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ อาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ อาจารย์จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ อาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ อาจารย์อวบ สาณะเสน และอาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นต้น จากปากคำของศิลปินเหล่านี้เป็นที่ทราบว่าพระองค์ทรงเขียนภาพด้วยพระองค์เองตามแนวพระราชดำริ การถวายคำปรึกษานั้นเป็นเพียงด้านเทคนิคในการเขียนภาพเท่านั้น และพระองค์มักจะมีพระราชดำรัสถามแต่เพียงว่า "พอไปได้ไหม"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยงานศิลปะด้านจิตรกรรม ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ครั้งที่ยังประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๐ - ๒๔๘๘) โดยทรงศึกษาด้วยพระองค์เองทรงฝึกเขียนเอง และทรงศึกษาจากตำราต่าง ๆ ทั้งที่ ทรงซื้อด้วยพระองค์เองและที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อสนพระราชหฤทัยงานเขียนของศิลปินผู้ใดก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมศิลปินผู้นั้นถึงที่พัก เพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารและทอดพระเนตร วิธีการทำงานของเขาไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้สี การผสมสี ตลอดจน เทคนิควิธีการต่าง ๆ เมื่อทรงเข้าพระราชหฤทัยการทำงานของเขาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะทรงนำวิธีการเหล่านั้นมาทรงฝึกฝนด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้ก็มิใช่ว่าจะเสด็จฯ ไปเพียงครั้งเดียว แต่จะเสด็จฯ ไปบ่อย ๆ จนทรงเข้าพระราชหฤทัยในการสร้างสรรค์งานของศิลปินเหล่านั้นเป็นอย่างดี การที่เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรงานของศิลปินที่พระองค์สนพระราชหฤทัยนั้น มิใช่เพื่อจะทรงลอกเลียนแบบงานของศิลปินเหล่านั้น เพียงแต่พระองค์ทรงนำวิธีการทำงานของเขามาสร้างสรรค์งานของพระองค์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นแบบฉบับของพระองค์เอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินโดยแท้ ทรงชื่นชมในงานศิลปินอื่นเสมอ และดูจะไม่เคยทรงพอพระราชหฤทัยกับภาพเขียนของพระองค์และวิธีการที่ทรงเคยใช้อยู่แล้ว และแม้ว่าโปรดที่จะค้นคว้าหาวิธีใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ภาพฝีพระหัตถ์ของพระองค์ยังคงเค้าลักษณะอันเป็นแบบฉบับของพระองค์เองโดยเฉพาะ ขณะที่ทรงวาดภาพนามธรรมที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ แต่เป็นสาระ ดังเช่น ภาพที่พระราชทานชื่อว่า "วัฏฏะ" "โลภะ" "โทสะ" "ยุแหย่" "อ่อนโยน" "บุคลิกซ้อน" ก็ยังทรงเขียนรูปในลักษณะสวยงามน่ารัก กระจุ๋ม กระจิ๋มได้ดีอีกด้วย ทั้งที่ไม่สู้จะตรงกับพระราชอัธยาศัยเท่าใดนัก ในฐานะจิตรกร ขณะทรงงานทรงใส่อารมณ์และความรู้สึกของจิตรกรอย่างเต็มที่ ทรงมีความรู้สึกตรงและรุนแรง ทรงใช้สีสดและเส้นกล้า ส่วนมากโปรดเส้นโค้ง แต่ในบางครั้งบางคราวก็มีข้อดลพระราชหฤทัยให้ทรงใช้เส้นตรงและเส้นแบบฟันเลื่อย"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานจิตรกรรมตั้งแต่ขึ้นครองราชย์จนถึงราว ๆ พุทธศักราช ๒๕๑๐ ก็มิได้ทรงเขียนภาพอีก เพราะทรงมีพระราชภารกิจด้านอื่นที่ต้องทรงเอาพระราชหฤทัยใส่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่เพื่อประชาชน เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรและทรงเข้าร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของราษฎร ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อีกจำนวนมากทั้งด้าน การเกษตร การชลประทาน ฯลฯ เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม จึงไม่ทรงมีเวลาสร้างผลงานด้านจิตรกรรม ถึงกระนั้นก็ปรากฏว่ามีภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่เผยแพร่แล้วจำนวน ๔๗ ภาพ และที่ยังไม่เคยเผยแพร่อีกจำนวนประมาณ ๖๐ ภาพ

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ภาพจิตรกรรม
จิตรกรรม ( Painting) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร(Painter)
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่

2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง

3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ
4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)

5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์ผู้สอน



จิตรกรรม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ภาพ โมนา ลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก
จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์
ภาพวาดได้แก่ ภาพที่ได้มาจากการเขียน การวาด ซึ่งอาจจะเป็นการวาดจากจิตรกรหรือผู้เขียนภาพสมัครเล่นปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาดลายเส้น และ การ์ตูน

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม

1.สุนทรียศาสตร์ ( Aesth etics ) คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )
สุนทรียศาสตร์
ความหมายของสุนทรีศาสตร์ เป็นคำตรงกับภาษาอังกฤษว่า “aesthetic” แปลว่าการศึกษาเรื่องความงาม หรือปรัชญาความงาม บางครั้งยังหมายถึงปรัชญาศิลปะซึ่งให้นิยามว่า “วิชาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความงาม” บางคนเข้าใจว่าสองคำนี้ความหมายเหมือนกัน แต่เป็นการเข้าใจไม่ถูกต้องเพราะความงามไม่ได้มีเฉพาะในศิลปะเท่านั้น (Randall and others, 1970 : 279) ในภาษาไทยสุนทรียศาสตร์มาจากคำว่า “สุนทรีย” แปลว่า เกี่ยวกับความนิยมความงาม กับคำว่า “ศาสตร์” แปลว่า วิชา ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงแปลว่า วิชาว่าด้วยความนิยมความงาม (พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 2525 : 84)
วิชาสุนทรียศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับความงามซึ่งอาจเป็นความงามในธรรมชาติหรือความงามทางศิลปะก็ได้ เพราะในผลงานาทางศิลปะ เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีความงามอยู่ด้วยนอกจากนี้สุนทรียศาสตร์ยังศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของการรับรู้ความงาม วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงาม และรสนิยม วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวนและแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ชัด รับรู้ได้และชื่นชมได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคล สร้างพฤติกรรม ความพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทนในการปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจเฉพาะตน สามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกด้วยได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง

2.ประโยชน์และขอบข่ายของสุนทรียศาสตร์
เป็นศาสตร์แห่งความงามมีจุดหมายอยู่ที่การเปิดเผยและการจัดระเบียบ หลักการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของความงาม สุนทรียศาสตร์มีวิธีการค้นหาความงาม อยู่ 2 อย่าง เรียกว่าวัตถุวิสัย และอัตตวิสัย

1. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นวัตถุวิสัย เพราะสุนทรียศาตร์มุ่งพิจารณาวัตถุต่าง ๆ เช่น ภาพพิมพ์ ดนตรี เป็นต้น ในฐานะที่เป็นสิ่งที่สวยงาม สุนทรียศาสตร์ค้นหาคุณลักษณะทั่วไปที่สวยงามและคุณลักษณะอย่างอื่นของวัตถุเหล่านั้นด้วย
2. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นอัตตวิสัย เพราะสุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความหมายของสิ่งที่เราเรียกว่าประสบการณ์ทางสุนทรียะของคนดู สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความแตกต่างและความสัมพันธ์กันระหว่างประสบการณ์สุนทรียะและประสบการณ์อย่างอื่น
จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์เป็นแต่เพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น มิใช่ภาคปฏิบัติและจุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์นี้ ก็เป็นแต่เพียงการสอนพวกเราเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ ของความงาม มิใช่ต้องการเพื่อที่จะสร้างพวกเราให้เป็นนักวาดเขียนหรือนักดนตรี เพราะว่ามีข้อแตกต่างกํนัระห่างความรู้เรื่องหลักการแห่งความงามและหลักการฝึกฝนภาคปฏบัติ ในการสร้างงานศิลปะ การสร้างงานศิลปะนั้นเรียกหาการฝึกฝนภาคปฏิบัติบางประการ และขึ้นอยู่กับสติปัญญาภายในของแต่ละบุคคล การศึกษาสุนทรียศาสตร์มิได้รับประกันว่าจะต้องให้การฝึกหัดและรูปแบบแก่พวกเรา ดังนั้นโดยจุดมุ่งหมายแล้วสุนทรียศาสตร์จึงเป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลมีรูปแบบบางอย่างและการฝึกภาคปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว การศึกษาสุนทรียศาสตร์ก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นได้พัฒนารูปแบบและการปฏิบัติจริงให้สำเร็จผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประสิทธิภาคแห่งศิลปะภาคปฏิบัติจึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการศึกษาสุนทรียศาสตร์แต่การศึกษาสุนทรียศาสตร์อาจมีผลโดยทางอ้อมต่อความพยายามของมนุษย์ในการสร้างงานศิลป์
สุนทรียศาสตร์มิได้เรียกร้องถึงขอบเขตอันสูงส่งในฐานะที่เป็นวิชาที่สืบค้นถึงเนื้อหาของมันเอง เพราะว่าวัตถุชนิดเดียวกันและเหมือนกัน อาจจะถูกศึกษาโดยประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ภาพเขียน นักเรขาคณิตอาจจะศึกษาจากแง่คิดในแง่ของเส้นของมุมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์อาจจะศึกษาจากแง่คิดในเรื่องของเคมีซึ่งใช้ในการเขียนภาพเขียน นักจิตวิทยาอาจจะศึกษาจากแง่คิดแห่งองค์ประกอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต่อการสร้างภาพเขียนแต่สุนทรียศาสตร์มีแง่คิดอันเด่นชัดเป็นของตนเอง สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาปรากฎการณ์ภายในต่าง ๆ ที่ภาพเขียนแต่ละชนิดจะพึงมีในใจของผู้ดู

3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลดังนี้
พยาบาลมีหน้าที่ดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วย พยาบาลจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิชานี้ เพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดและการตัดสินความงามอย่างมีเหตุผลและช่วยในการกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี เพื่อเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550